วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

การสอนตามแนวธรรมชาติ (Natural Approach- NA)

การสอนตามแนวธรรมชาติ
 (Natural Approach- NA) 
            NA เป็น แนวการสอนที่พยายามเลียนแบบการรับรู้(acquire) ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็กๆซึ่งเป็นการรับรู้ภาษาที่เกิดตามธรรมชาติโดยที่ไม่มีใครสอน คำว่า natural approach และ natural method (direct method) และต่างกันตรงที่ direct method เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางน้อยกว่า (Baker & Jones, 1998) Direct Method เน้นการพูดของครู (teacher talk time-TTT) มากกว่า ที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนพูด (student talk time- STTT) และเน้นการแก้ข้อผิดพลาดของผู้เรียน นอกจากนั้นแนวการสอนตามธรรมชาติยังต่างจากวิธีสอนแบบ grammar translation และวิธีสอนแบบ audio-lingual method ตรงที่การสอนตามแนวธรรมชาติเน้นการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย (meaning) และเน้นหน้าที่ (function) ของภาษา ซึ่งเป็นการการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเหมือนกับวิธีสอนแบบสื่อสาร ( communicative language teaching- CLT)การเลือกเนื้อหาและเรื่องที่สอนต้องสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน ทักษะฟังควรฝึกก่อนทักษะพูด ก่อนที่ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะเขียนต้องคำนึงความพร้อมของผู้เรียนเพราะทักษะนี้ต้องใช้เวลานานในการสร้างความพร้อม ผู้สอนไม่ควรเร่งเพราะจะทำให้ผู้เรียนวิตกกังวลซึ่งมีผลต่อทัศนคติและแรงจูงใจ การช่วยลดความวิตกกังวล (low anxiety) เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนภาษาที่สอง            
                การสอนตามแนวธรรมชาตินี้ผู้สอนต้องใช้ภาษาของเจ้าของภาษาตลอดเวลา ซึ่งเป็นปัญหากับผู้สอนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ในการแก้ปัญหาดังกล่าวผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจ ตัวป้อน (input)เช่นการเทคนิคใบ้คำ ( mime) การใช้ภาษาท่าทาง (body language) เป็นต้น หรือผู้สอนอาจใช้เทป หรือ วิดีโอช่วยก็ได้             
Krashen และ Terrell (1983) เป็นผู้คิดค้นวิธีสอนแบบนี้ขึ้นมา Stephen Krashen เป็นนักภาษาศาสตร์ประยุคแห่งมหาวิทยาลัย Southern California งานที่สำคัญที่เป็นที่แพร่หลายคือทฤษฎีการรับรู้และการพัฒนาการการเรียนภาษาที่สอง (theory of second language acquisition) ทฤษฏีนี้มีอิทธิพลต่องานวิจัยและการเรียนภาษาที่สองอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา นอกจากนั้นKrashen ยังได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่ไม่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง และผู้เรียนที่ใช้สองภาษา ( bilingual) ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หนังสือของเขาได้รับการตีพิมพ์มากกว่า ๆ 100 เล่มและบทความมากกว่า 300 บทความที่ได้รับการยอมรับทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา             
            Krashen เชื่อว่าจุดมุ่งหมายของการสอนภาษาที่สองต้องจัดกระบวนการเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตัวป้อน (input)ได้ง่ายและเร็วขึ้นครูที่ดีต้องเข้าใจกระบวนการรับรู้ (acquire) ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็กๆเพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจการเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้เรียน ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใกล้เคียงกับการเรียนภาษาที่หนึ่งมากที่สุด ซึ่งสามารถทำได้โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์จริงนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ตามสมมุติฐานAffective Filter Hypothesis ของ Krashen ถือว่า ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นตัวแปรที่มีผลต่อความสำเร็จในการเรียนภาษาที่สอง ถ้าผู้เรียนเกิดแรงจูงใจสูงมีแนวโน้มที่จะแสวงหาโอกาสในการปฎิสัมพันธ์ กับเจ้าของภาษาผู้เรียนที่มีทัศนคติด้านบวกต่อการเรียนภาษาเป้าหมายจะเรียนได้ดีกว่าผู้เรียนที่มีทัศนคติด้านลบ ดังนั้นในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนครูต้องจัดบรรยากาศที่เป็นมิตรเพื่อเสริมให้ผู้เรียนมีทํศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่นในตนเอง Krashen ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนภาษาที่สอง ถ้าผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่นในตัวเองจะทำให้เกิดความกล้า(risk taking) ที่จะสนทนากับเจ้าของภาษาทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการสนทนา (conversational competence) และยังรวมไปถึงความสามารถในการใช้เทคนิค (strategy) ที่หลากหลายเพื่อช่วยให้สื่อความหมายได้ดีขึ้นทำให้การสนทนาไม่หยุดลงกลางคัน เช่นการใช้ท่าทาง การถามย้อนกลับเพื่อให้เจ้าของภาษาช่วยตรวจสอบเป็นต้น            
               ส่วน Terrell เป็นครูสอนภาษาสเปนในแคลิฟอเนียร์ มีประสบการณ์ด้านการสอนแบบธรรมชาติ Terrell ได้ร่วมมือกับ Krahenคิดวิธีการสอนขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า " The Natural Approach-NA" และได้รับการตีพิมพ์ ในปี1983 เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ Krashen และ Terrell ได้อธิบายวิธีการที่จะช่วยให้ ผู้เรียนภาษาที่สองมีความสามารถในการใช้ภาษาได้โดยตรงโดยไม่ผ่านกระบวนการสอน กล่าวคือผู้เรียนภาษาที่สองไม่จำเป็นต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ภาษาโดยตรงเหมือนวิธีสอนแบบ grammar translatio

Communicative Language Teaching CLT

Communicative Language Teaching CLT

การสอนตามแนวสื่อสารคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร

          การสอนตามแนวสื่อสารได้ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรก ในแถบอเมริกาเหนือและยุโรปในช่วงปี 1970 การสอนตามแนวสื่อสารเกิดขึ้นในยุโรป เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้อพยพเข้าไปอาศัยในยุโรปเป็นจำนวนมาก สมาพันธ์ยุโรป (Council of Europe) จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาที่สองแบบเน้นหน้าที่และสื่อความหมาย (functional national syllabus design) เพื่อช่วยให้ผู้อพยพสามารถใช้ภาษาที่สองในการสื่อสาร ในส่วนของอเมริกาเหนือไฮมส์ (Hymes) ได้ใช้คำว่า ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (communicative competence) หมายถึงความสามารถในการปฎิสัมพันธ์ หรือปะทะสังสรรค์ทางด้านสังคม (social interaction) ซึ่งความสามารถทางด้านภาษาที่สำคัญที่สุดคือ ความสามารถที่จะพูด หรือเข้าใจคำพูดที่อาจไม่ถูกหลักไวยากรณ์ แต่มีความหมายเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่คำพูดนั้นถูกนำมาใช้ (Savignon, 1991)

          การสอนภาษาแบบสื่อสาร (Communicative Language Teaching - CLT) คือแนวคิดซึ่งเชื่อมระหว่างความรู้ทางภาษา (linguistic knowledge) ทักษะทางภาษา (language skill) และความสามารถในการสื่อสาร (communicative ability) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อสาร (Canale & Swain, 1980 ; Widdowson, 1978). คเนล และสเวน (1980) และเซวิกนอน (Savignon, 1982) ได้แยกองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารไว้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้

          1. ความสามารถทางด้านไวยากรณ์หรือโครงสร้าง (grammatical competence) หมายถึงความรู้ทางด้านภาษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ โครงสร้างของคำ ประโยค ตลอดจนการสะกดและการออกเสียง

          2. ความสามารถด้านสังคม (sociolinguistic competence) หมายถึงการใช้คำ และโครงสร้างประโยคได้เหมาะสมตามบริบทของสังคม เช่น การขอโทษ การขอบคุณ การถามทิศทางและข้อมูลต่าง ๆ และการใช้ประโยคคำสั่ง เป็นต้น

          3. ความสามารถในการใช้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อความหมายด้านการพูด และเขียน (discourse competence) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมระหว่างโครงสร้างภาษา (grammatical form) กับความหมาย (meaning) ในการพูดและเขียนตามรูปแบบ และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

          4. ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (strategic competence) หมายถึงการใช้เทคนิคเพื่อให้การติดต่อสื่อสารประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการสื่อสารด้านการพูด ถ้าผู้พูดมีกลวิธีในการที่จะไม่ทำให้การสนทนานั้นนั้นหยุดลงกลางคัน เช่นการใช้ภาษาท่าทาง (body language) การขยายความโดยใช้คำศัพท์อื่นแทนคำที่ผู้พูดนึกไม่ออก เป็นต้น

          จะเห็นได้ว่า CLT ไม่ได้ละเลยโครงสร้างทางไวยากรณ์ แต่ในการสอนโครงสร้างทางไวยากรณ์ต้องเน้นการนำหลักไวยากรณ์เหล่านี้ไปใช้ เพื่อการสื่อความหมายหรือการสื่อสารคเนล และสเวน (Canale & Swain, 1980) อธิบายไว้อย่างชัดเจนถึงความสำคัญของกฎเกณฑ์และโครงสร้างทางภาษา ถ้าปราศจากกฎเกณฑ์ และโครงสร้างแล้วความสามารถทางการสื่อสารของผู้เรียนจะถูกจำกัด ดังนั้น ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา (fluency) และความถูกต้องในการใช้ภาษา (accuracy) จึงมีความสำคัญเท่ากัน

บทบาทของผู้เรียน (learner roles)
บรีนและแคนดริน (อ้างใน Richards & Rodgers, 1995) อธิบายบทบาทของผู้เรียนตามแนว CLT ผู้เรียนคือผู้ปรึกษา (negotiator) การเรียนรู้เกิดจากการปรึกษาหารือในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนจัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ จุดมุ่งหมายหลักในการทำกิจกรรมกลุ่มคือมุ่งให้ผู้เรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักการให้พอ ๆ กับการรับ

บทบาทของครู (teacher roles)
ครูมีบทบาทที่สำคัญ 3 บทบาท คือผู้ดำเนินการ (organizer, facilitator)เตรียมและดำเนินการจัดกิจกรรม ผู้แนะนำหรือแนะแนว (guide) ขั้นตอนและกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นผู้วิจัยและผู้เรียน (researcher, learner) เรียนรู้พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนแต่ละคน นอกจากนั้นครูอาจมีบทบาทอื่น ๆ เช่น ผู้ให้คำปรึกษา(counselor) ผู้จัดการกระบวนการกลุ่ม (group process manager) ครูตามแนวการสอนแบบCLT เป็นครูที่เป็นศูนย์กลางน้อยที่สุด (less teacher centered) นั่นคือครูมีหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อการสื่อสารและในช่วงที่นักเรียนทำกิจกรรมครูจะกระตุ้นให้กำลังใจช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้ได้ความหมายและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ อันเป็นการเชื่อมช่องว่างระหว่างความสามารถทางไวยากรณ์ (grammar competence) และความสามารถทางด้านสื่อสาร (communicative competence) ของผู้เรียน

บทบาทของสื่อการเรียนการสอน (the role of instructional materials)
การสอนตามแนว CLT จำเป็นที่ต้องใช้สื่อที่หลากหลาย เพราะสื่อมีความสำคัญต่อการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์หรือการเรียนแบบร่วมมือและการฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สื่อที่สำคัญ 3 อย่างที่ใช้สำหรับการสอนตามแนว CLT ได้แก่ เนื้อหา (text-based) งาน/กิจกรรม (task-based) ของจริง(realia)

        - เนื้อหา (text-based material) ในปัจจุบันมีตำราเรียนจำนวนมากมายที่สอดคล้องกับการเรียน/สอนตามแนว CLT ซึ่งการออกแบบตำราเรียนกิจกรรมและเนื้อหาแตกต่างจากตำราที่แต่งขึ้นมาเพื่อสอนไวยากรณ์ ยกตัวอย่าง แบบเรียน CLT จะไม่มีแบบฝึกหัด (drill) หรือโครงสร้างประโยคส่วนมากแบบเรียนที่เน้น CLT จะประกอบไปด้วยข้อมูลในรูปต่าง ๆ เช่น การจัดสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมุติหรือกิจกรรมคู่ หรืออาจกำหนดเรื่อง (theme) ที่จะเรียนแล้วมีกิจกรรมที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องนั้น ๆ

         - งาน/กิจกรรม (task-based material) เกมส์ต่าง ๆ บทบาทสมมุติ การเลียนแบบ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น กิจกรรมการสอบถามแลกเปลี่ยนข้อมูล (gap conversation) กิจกรรม Jigsaw ที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทำงานเป็นกลุ่มร่วมมือกัน

         - สื่อที่เป็นของจริง (realia) CLT เน้นการใช้สื่อที่เป็นของจริง (authentic material) เช่น ป้ายประกาศโฆษณา หนังสือพิมพ์รูปภาพ แผนที่ เป็นต้น

กิจกรรมการเรียนการสอน แนว CLT
นูนัน และแลมป์ (Nunan & Lamb, 1996) และนูนัน (Nunan, 1991) อธิบายลักษณะกิจกรรมการสอนตามแนว CLT ดังนี้ "กิจกรรมการสอน CLT คือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์จริง หรือการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย กิจกรรมการสอนตามแนว CLT เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล (information sharing) การปฏิสัมพันธ์ (interaction)"

         CLT มักจะถูกเรียกว่า เป็นแนวคิด (approach) มากกว่าวิธีสอน (method) เพราะ CLT ส่วนมากแล้วจะกล่าวถึงแนวคิดที่กว้างๆ ยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมของผู้เรียน ลักษณะพื้นฐานของ CLT มีดังนี้
                  1. เน้นการเรียนโดยวิธีสื่อสารผ่านการปฏิสัมพันธ์โดยใช้ภาษาเป้าหมาย(target language)
                  2. เน้นการใช้สื่อและเนื้อหาที่เป็นของจริง (authentic material)
                  3. เน้นทั้งทักษะภาษา ( language skill) และกระบวนการเรียนรู้ (learning process)
                  4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน (ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง)
                  5. เชื่อมต่อระหว่างการเรียนภาษาในชั้นเรียนกับการเรียนและการใช้ภาษานอกห้องเรียน (ค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม, พ.ศ. 2544, จาก the World Wide Web ;
http://www.abacom.com/nathan/clt.htm)

         CLT คือแนวคิดทางการสอนภาษาที่นักภาษาศาสตร์คิดขึ้นมาเพื่อแก้ข้อบกพร่องและความล้มเหลวของวิธีสอนแบบฟัง-พูด audiolingualism (Savignon, 1982) กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนว CLT ส่วนมากจะจัดในรูปกิจกรรมกลุ่มเล็ก เน้นการเรียนแบบร่วมมือ (co-operative learning) มากกว่าการแข่งขัน (Larsen-Freeman, 1986) อย่างไรก็ตาม CLT เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาได้ในสถานการณ์จริง

         ลิสเติลวูด (Littlewood, 1981) ได้จำแนกกิจกรรม CLT เป็น 2 กิจกรรมหลักคือ
                  1. กิจกรรมเพื่อการสื่อสาร (functional communication activity) กิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อความหมายที่จำเป็นในการติดต่อสื่อสาร
                  2. กิจกรรมปะทะสังสรรค์ในสังคม (social interaction activity) เช่นการสนทนา อภิปราย โต้วาที การเลียนแบบและการแสดงบทบาทสมมุติผู้สอนจะสอนกิจกรรม CLT อย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความสามารถ ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ สกาเซลลาและอ๊อกฟอร์ด ( Scarcella & Oxford, 1992) เสนอแนะหลักการดังนี้
                  1. ครูนำเหตุการณ์นอกห้องเรียนเข้าไปสู่ชั้นเรียนโดยใช้ บทบาทสมมุติ (role play) การเลียนแบบ (simulation) และกิจกรรมการแก้ปัญหา (problem solving activity)
                  2. ครูใช้ภาษาที่เป็นสภาพจริง (authentic language) ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คือภาษาที่เป็นธรรมชาติไม่ใช้ภาษาที่ดัดแปลงใช้เฉพาะในชั้นเรียน แต่เป็นภาษาที่ใช้ได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
                  3. ครูเน้นความหมายของภาษา (meaning) เพื่อการสื่อสารเพื่อช่วยให้นักเรียน คาดเดาเจตนาของผู้พูดหรือผู้เขียนได้
                  4. ครูให้โอกาสนักเรียนแสดงความรู้สึกและความคิดและทัศนคติส่วนตัวของนักเรียน
                  5. ครูกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนแบบร่วมมือและทำงานเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนแต่ละคนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
                  6. ครูออกแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ครอบคลุมสมรรถนะทางการใช้ภาษาด้านการสื่อสาร (communicative competence) ให้มากที่สุด

การออกแบบกิจกรรมเพื่อการสื่อสาร

บิลาช (Bilash, 2000) ได้เสนอแนวคิดในการออกแบบกิจกรรมเพื่อการสื่อสาร เรียกว่าการออกแบบกิจกรรมเพื่อการสื่อสารตามเกณฑ์ของบิลาช (Bilash's criteria for communicative activities -BCCA) เพื่อเป็นเกณฑ์ในการประเมินกิจกรรมที่ครูใช้ในชั้นเรียนว่า กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมเพื่อการสื่อสารหรือไม่มากน้อยเพียงใด BCCA ประกอบไปด้วย 11 เกณฑ์ดังนี้
              1. กิจกรรมนั้นส่งเสริมหน้าที่ของภาษา (functions of language) หรือไม่
              2. กิจกรรมนั้นได้ใช้สื่อที่เป็นของจริง (authentic material) หรือยัง
              3. กิจกรรมนั้นเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างกว้างขวางเพียงใด
              4. กิจกรรมนั้นมุ่งให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างอื่น นอกจากคำศัพท์ และหลักไวยากรณ์หรือไม่
              5. กิจกรรมนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังหรือไม่
              6. กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาหรือไม่ (problem solving activity)
              7. กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันหรือไม่
              8. กิจกรรมนั้นเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดและทัศนคติส่วนตัวของนักเรียนหรือไม่
              9. กิจกรรมนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์หรือไม่ (interactional activity)
              10. กิจกรรม CLT ที่ดีต้องมีลักษณะเมื่อผู้เรียนปฏิบัติแล้วเกิดการเสี่ยงภัยต่ำ (low risk)และเกิดความปลอดภัยสูง (high security) สร้างความมั่นใจลดความวิตกกังวล
              11. กิจกรรมนั้นสนุกสนานน่าสนใจกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากร่วมกิจกรรมหรือไม่

การสอนตามแนวสื่อสารคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร
การสอนตามแนวสื่อสารได้ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรก ในแถบอเมริกาเหนือและยุโรปในช่วงปี 1970 การสอนตามแนวสื่อสารเกิดขึ้นในยุโรป เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้อพยพเข้าไปอาศัยในยุโรปเป็นจำนวนมาก สมาพันธ์ยุโรป (Council of Europe) จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาที่สองแบบเน้นหน้าที่และสื่อความหมาย (functional national syllabus design) เพื่อช่วยให้ผู้อพยพสามารถใช้ภาษาที่สองในการสื่อสาร ในส่วนของอเมริกาเหนือไฮมส์ (Hymes) ได้ใช้คำว่า ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (communicative competence) หมายถึงความสามารถในการปฎิสัมพันธ์ หรือปะทะสังสรรค์ทางด้านสังคม (social interaction) ซึ่งความสามารถทางด้านภาษาที่สำคัญที่สุดคือ ความสามารถที่จะพูด หรือเข้าใจคำพูดที่อาจไม่ถูกหลักไวยากรณ์ แต่มีความหมายเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่คำพูดนั้นถูกนำมาใช้ (Savignon, 1991)

          การสอนภาษาแบบสื่อสาร (Communicative Language Teaching - CLT) คือแนวคิดซึ่งเชื่อมระหว่างความรู้ทางภาษา (linguistic knowledge) ทักษะทางภาษา (language skill) และความสามารถในการสื่อสาร (communicative ability) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อสาร (Canale & Swain, 1980 ; Widdowson, 1978). คเนล และสเวน (1980) และเซวิกนอน (Savignon, 1982) ได้แยกองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารไว้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้

          1. ความสามารถทางด้านไวยากรณ์หรือโครงสร้าง (grammatical competence) หมายถึงความรู้ทางด้านภาษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ โครงสร้างของคำ ประโยค ตลอดจนการสะกดและการออกเสียง

          2. ความสามารถด้านสังคม (sociolinguistic competence) หมายถึงการใช้คำ และโครงสร้างประโยคได้เหมาะสมตามบริบทของสังคม เช่น การขอโทษ การขอบคุณ การถามทิศทางและข้อมูลต่าง ๆ และการใช้ประโยคคำสั่ง เป็นต้น

          3. ความสามารถในการใช้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อความหมายด้านการพูด และเขียน (discourse competence) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมระหว่างโครงสร้างภาษา (grammatical form) กับความหมาย (meaning) ในการพูดและเขียนตามรูปแบบ และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

          4. ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (strategic competence) หมายถึงการใช้เทคนิคเพื่อให้การติดต่อสื่อสารประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการสื่อสารด้านการพูด ถ้าผู้พูดมีกลวิธีในการที่จะไม่ทำให้การสนทนานั้นนั้นหยุดลงกลางคัน เช่นการใช้ภาษาท่าทาง (body language) การขยายความโดยใช้คำศัพท์อื่นแทนคำที่ผู้พูดนึกไม่ออก เป็นต้น

          จะเห็นได้ว่า CLT ไม่ได้ละเลยโครงสร้างทางไวยากรณ์ แต่ในการสอนโครงสร้างทางไวยากรณ์ต้องเน้นการนำหลักไวยากรณ์เหล่านี้ไปใช้ เพื่อการสื่อความหมายหรือการสื่อสารคเนล และสเวน (Canale & Swain, 1980) อธิบายไว้อย่างชัดเจนถึงความสำคัญของกฎเกณฑ์และโครงสร้างทางภาษา ถ้าปราศจากกฎเกณฑ์ และโครงสร้างแล้วความสามารถทางการสื่อสารของผู้เรียนจะถูกจำกัด ดังนั้น ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา (fluency) และความถูกต้องในการใช้ภาษา (accuracy) จึงมีความสำคัญเท่ากัน