วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

The rescher (Improving Mattayomsuksa 3 student’s English Listening Skills by Using TV Commercials)


                   การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายอยู่  3  ประการ  คือ  1)  เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โดยใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์  ตามเกณฑ์  75/75  2)  เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการฟังภาษาอังกฤษ  โดยใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  3)  เปรียบเทียบทักษะการฟังการฟังก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการฟัง  โดยใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผลวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2553  จำนวน  1  ห้องเรียนนักเรียนจำนวน  40  คน  เครื่องมือและเทคนิคการที่ใช้  คือ  แบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์  และแบบทดสอบรวม  12  กิจกรรมระยะเวลาในการดำเนินงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยปรากฏว่าการพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  78.38/80.91  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้และมีค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการฟังโดยใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์  เท่ากับ  0.62  หรือคิดเป็นร้อยละ  62  คะแนนหลังสอบของนักเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนสอบอย่างมีนัยสำคัญ  ทางสถิติที่ระดับ  .05
                   ผลการศึกษาพบว่า  การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้โฆษณาทางโทรทัศน์มาเป็นสื่อในการเรียนรู้เป็นวิธีการที่ช่วยดึงดูดความสนใจและกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใจและสื่อความ  สามารถกับบุคลอื่นได้  นอกจากนี้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ยังช่วยให้นักเรียนมีทักษะการฟังที่ดีเพิ่มขึ้น


Abstract

This  study  aimed  to  (1)  design  English  Mattayomsuksa  3  student’s  listening  activities  by  using  TV  commercials  with  a  required  efficiency  of  75/75  (2)  examine  the  effectiveness  index  of  using  TV  commercials  to  improve  Mattayomsuksa  3  student’s  English Skills  (3)  compare  English  skills  before  and  after  using  TV  commercial.  The Samples  were  40  Mattayomsuksa  3  students  of  Tesaban Bansongnangyai  school,  Muang  district,  Mahasarakham  province  selected  by  cluster  random  sampling.  The  instruments  used  in  the  experiment  were  3  lesson  plans  to  improve  the  English  skills  by  using  TV  commercial  and  pre-test  and  post test  concluded  12  activities.  The  data  were  statistically  analyzed  by  mean,  percentage,  standard  deviation  and  t-test.  The  results  of  the  studying  revealed  that  English  listening  activities  which  were  designed  by  using  TV  commercials  reached  its  efficiency  of  78.38/80.91.  It  was  higher  than  the  criterion  (75/75).  The  effectiveness  index  was  0.62  indicated  the  students  were  able  to  improve  their  learning  at  62%.  The  post-test  scores  of  the  students  were  significantly  higher  than  pre-test  scores  of  the  students  at  the  .05 level.
It  shows  that  using  TV  commercials  to  improve  English  listening  skills  is  a  good  way  to  attract  and  the  interest  of  students.  It  allows  students  the  ability  to  listen  in  English  and  can  communicate  with  another  person.

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

CALL

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

      ในปัจจุบันการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย จะสามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เรียน ทำให้การเรียนรู้นั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ก็เป็นอีกสื่อหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอกเวลา ทำให้เกิดการพัฒนาการที่กว้างไไกลยิ่งขึ้น
      บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI: Computer Assisted Instruction) อาจมีชื่อเรียกหลายอย่างได้แก่ Computer Assistant Instruction หรือ Computer-Aided Instruction หรือ Computer-Based Instruction และ Courseware เป็นต้น
      บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอบทเรียนที่นำมาใช้ในการสอนเสริมการสอนในชั้นเรียน หรือสอนแทนครูผู้สอน และผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาแล้วในชั้นเรียน
      ปัจจุบันบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นที่นิยมกันมากตั้งแต่ระดับอนุบาลจนกระทั่งถึงระดับอุดมศึกษา และมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีการทดลองใช้ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ 2498-2508 โครงการแรกที่มีบทบาทในด้านการทดลองบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ โครงการพลาโต (PLATO Project) โดยเริ่มทดลองในมหาวิทยาลัย
อิลินนอยส์ ในปี พ.ศ 2503 มีการออกแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพ เพื่อนำมาใช้ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการศึกษาเดิมโดยตรง
      การพัฒนาสื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซึ่งเป็นสื่อดิจิตอล (Digital)มีความจำเป็นมากในศตวรรษใหม่นี้ ประกอบกับมีสตูดิโอ (Studio)ทางด้านดิจิตอลและการออกแบบสื่อเสมือนจริงกระจายอยู่ทั่วไป จึงทำให้การสร้างสื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เฉพาะเจาะจงทำให้ง่ายยิ่งขึ้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถสนองตอบต่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ส่วนครูจะเป็นเพียงผู้ประสานงาน ให้คำแนะนำช่วยแก้ปัญหา กระตุ้นให้นักเรียนทำกิจกรรมและสรุปบทเรียน และสามารถนำมาใช้ในการสอนเสริม การสอนแทนครูในกรณีที่ครูไม่อยู่หรือขาดแคลนครู การเรียนนอกเวลา หรือ การทบทวนเนื้อหาที่ผู้เรียนเรียนผ่านมาแล้วในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดีประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
      บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ครูผู้สอนหรือผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆมีประโยชน์หลายประการดังนี้
1. ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเอง (Self-Pacing)
2. เป็นสื่อการสอนที่มีการสื่อสารแบบสองทา(TwowayCommunication)
3. ส่งเสริมการร่วมกิจกรรมทุกรูปแบบ(Active Learning) ที่มีการฟัง
บรรยาย การอ่านหนังสือและกิจกรรมต่างๆ การฝึกหัดและการเรียนซ้ำ ทำแบบทดสอบ ตามที่กำหนดไว้ในบทเรียนแต่ละขั้นตอน
4. เป็นการนำสื่อประสม(Multimedia) ที่มีตัวอักษร ภาพและเสียงมาใช้อย่างกลมกลืน
5. ส่งเสริมการเรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individualdifference)มีความยืดหยุ่น (Flexibility)ซึ่งสามารถสนองความต้องการในการเรียนของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
6. ส่งเสริมการเรียนเสริมของผู้เรียน(Tutorial)
7. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้(Information Technology)
8. แก้ปัญหาการสอนแบบตัวต่อตัว
9. แก้ปัญหาเนื้อหาที่มีความยาก หรือซับซ้อนมาก
10. แก้ปัญหาการขาดแคลนครูและการบริหารเวลาการเรียนการสอนของโรงเรียน

ข้อจำกัดของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1. ขาดบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบและสร้างบท
เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในสาขาวิชาต่างๆ
2. สิ่งที่แสดงบนจอภาพ เช่น ตัวหนังสือ ภาพ เสียง หรือวิดิทัศน์ที่ปรากฏ เป็นการแสดงผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น
3. ต้นทุนของฮาร์ดแวร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟท์แวร์บทเรียนที่นำมาใช้สูงกว่าสื่อประเภทอื่นๆ
4. การพัฒนาซอฟแวร์มีต้นทุนสูงและพัฒนาได้ยาก เมื่อพัฒนาขั้นมา
แล้วยังประสบปัญหาความไม่แน่นอนของตลาดอีก
5. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับหลักสูตร
น้อยมาก ส่วนใหญ่นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนบางส่วนเท่านั้น
6. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีจำหน่ายส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำ และมีจำนวนน้อย

สรุป

      บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในสังคมปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการส่งเสริมให้ครูผู้สอน หรือนักวิชาการทางการศึกษาหันมาให้ความสำคัญ ร่วมมือกันพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ให้เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียน และในส่วนของภาครัฐ ก็ควรส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติยิ่งขึ้นไป

Story telling

Magickeys

Starfall

Speakaboos

Storynory

Onlineaudiostories

Rong-chang

Learnenglishkids

Storylineonline

by Kamon

Song

How to Use Songs when Teaching English as a Second Language

 

Speaking Skill



by Kamon Download

Writing Skill

        ทักษะการเขียน เป็นทักษะที่ต้องผ่านกระบวนการทางความคิดหลายขั้นตอน ตั้งแต่การรวบรวมความคิด การลำดับเรื่อง และเลือกสรรถ้อยคำในการถ่ายทอดออกมาเป็นข้อความที่สามารถสื่อความหมายได้ตรงความต้องการ
         ทักษะการเขียนจะต้องอาศัยความเข้าใจโครงสร้างภาษาอย่างถูกต้อง รู้ศัพท์ สำนวน รูปแบบ ประโยค ไวยากรณ์ และเช่นเดียวกับทักษะอื่น ๆ ผู้เรียนจะต้องหมั่นฝึกฝนและหัดเขียนอยู่เสมอ นอกจากนั้นการเขียนและการอ่านเป็นทักษะที่เชื่อมโยงกัน หากผู้เรียนมีประสบการณ์ในการอ่านมาก ก็จะได้เห็นรูปแบบวิธีเขียน แนวคิดในการสื่อสารของผู้เขียน ซึ่งจะช่วยทำให้มีแบบอย่างสำหรับการเขียน สำหรับตนเองมากขึ้นด้วย
          สำหรับนักศึกษานั้นควรจะหาโอกาสไปเข้ารับการสอนเสริม เพื่อที่จะมีโอกาสได้สนทนา ซักถามอาจารย์ผู้สอนโดยตรง อย่างไรก็ตามการศึกษาด้วยตนเองโดยไม่มีชั้นเรียนปกตินั้น นักศึกษาต้องดูแลตนเองให้มีวินัยในการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนวิชาภาษานั้นจะต้องฝึกฝนเป็นประจำ สม่ำเสมอ หากไม่ท้อถอยในการเรียนเสียก่อน ความสำเร็จในการศึกษาต้องเป็นของนักศึกษาอย่างแน่นอน



Reading Skill

การอ่านภาษาอังกฤษ  มี 2  ลักษณะ คือ  การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ  (Silent Reading )  การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy)  และความคล่องแคล่ว ( Fluency)  ในการออกเสียง  ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง  ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้  ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ  ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1.   เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง   การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
                (1)  Basic Steps of Teaching (BST)   มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
             - นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
             - นักเรียนฝึกอ่านเอง
             - สุ่มนักเรียนอ่าน
(2)  Reading  for  Fluency ( Chain Reading)   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน  โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่  เช่น ครูเรียก Chain-number One  นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51  จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด  ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3)  Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4)  Speed Reading   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว (Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5)  Reading for Accuracy   คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading   มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว (Fluency) ควบคู่กันไป
1.2  การอ่านในใจ     ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น  3   กิจกรรม  คือ   กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)   แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1)  กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)   การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
- ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
- ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ  อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด  เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ  หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย  หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)  เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น  กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน  แต่เป็นการ ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ  กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้  ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ  เช่น  การฟัง  หรือ  การเขียน  อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย  เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา   กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน  ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
- Matching   คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
- Ordering   คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
- Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค   ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
- Correcting    คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
- Deciding   คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice)   หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)
- Supplying / Identifying   คือ  อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic  Sentence)  หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion)  หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title)  หรือ ย่อเรื่อง (Summary)  หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific  Information)
3)  กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)  เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน  ทั้งการฟัง  การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว  โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์  สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้  ความถูกต้องของคำศัพท์  สำนวน  โครงสร้างไวยากรณ์  หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น  หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นต้น
3.    บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)   
การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น  จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน  ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการอ่านที่ดี  จะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ ( Keywords)  
                           1. ทักษะการอ่าน
                           2. การอ่านออกเสียง
                           3. การอ่านในใจ
                           4. กิจกรรมในการสอนอ่าน
                           5. กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)
                           6. กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)
                           7. กิจกรรมหลังการอ่าน  (Post-Reading)

Reading Skill Teaching's Video Example:


ที่มา : http://www.chan1.go.th/kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=382
by Kamon  Download

Listening Skill

               ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ เป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ ประกอบกับในยุคนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีที่ต้องใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษ ดังที่ ยุดา  รักไทย (2552 : 26) ได้กล่าวว่า “บทบาทและความสำคัญของภาษาอังกฤษ เป็นแรงผลักให้ผู้เรียน ต้องเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้านความรู้ ความคิดและเทคโนโลยีต่างๆ กับชาวต่างชาติ”  ซึ่งความจำเป็นในการใช้ภาษาดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544 : 1) ได้กำหนดไว้ในเอกสารสาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในเรื่องวิสัยทัศน์การเรียนรู้ว่า  “การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคาดหวังว่า เมื่อผู้เรียนเรียนภาษาอังกฤษ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ผู้เรียนจะมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพและสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์” 



 
                 ในธรรมชาติของเด็กนั้นเด็กมีสัญชาตญาณแห่งการสื่อสารและการพูดอยู่แล้วจึงน่าจะเป็นประโยชน์ในการที่จะจูงใจให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือครูจะต้องไม่ลืมว่า การเรียนภาษาอังกฤษเป็นการเรียนเพื่อการใช้ภาษา ไม่ได้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษา  ดังนั้นครูจึงไม่ควรที่จะปิดกั้น หรือห้ามปรามเมื่อเด็กพูดจนมากเกินไป ครูควรปล่อยให้เด็กได้มีโอกาสพูดแสดงความคิดเห็นบ้าง หรือให้นักเรียนได้มีโอกาสให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียนให้มากขึ้น หรือครูควรจัดให้มีกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอ
 

ทักษะการฟังคืออะไร?...          
        การสื่อสารในชีวิตประจำวันนั้นการฟังนับว่าเป็นทักษะรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่ง เป็นทักษะที่ใช้กันมากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอนเพราะผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสามารถพูดโต้ตอบ อ่านหรือเขียนได้ ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ  ดังนั้นในการเรียนการสอนนักเรียนจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการฟังอย่างเพียงพอและจริงจัง     
          นพเก้า   ณ พัทลุง(2548:22) ได้ให้ ความหมายของทักษะการฟัง หมายถึงความสามารถในการจับ
ประเด็นใจความหลักจากสิ่งที่ฟังได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนซึ่งเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เพราะผู้เรียน
ต้องเข้าใจสาระสำคัญจากสิ่งที่พูดอารมณ์และความคิดเห็นของผู้พูดและสามารถตอบสนองระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดหรือบริบทของการพูดได้
คุณค่าของการฟังคืออะไร                       
           David Pual (2004 : 71)  ได้กล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่เด็กๆจะต้องฟังภาษาอังกฤษที่เหมาะกับระดับของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภาษาควรจะง่ายสำหรับเด็กและอยู่ในระดับปัจจุบันหรือเหนือระดับที่เข้าใจได้แล้วเล็กน้อย ถ้าระดับยากเกินไปเด็กอาจสูญเสียความมั่นใจและทัศนคติด้านบวกไปก็ได้ หากเด็กได้เรียนภาษาอังกฤษหลายครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยได้มากถ้าให้ทำแบบฝึกหัดการฟังอย่างสม่ำเสมอจากเทป หรือครูผู้ให้ข้อมูลแบบฝึกหัดควรจัดระยะให้ห่างเท่าๆกันในบทต่างๆแทนที่จะทำพร้อมกันในชั่วโมงเรียนถ้าหากเรียนหนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์เราไม่ควรคาดหวังว่าความสามารถในการฟังของเด็กจะดีขึ้นมากจากการทำแบบฝึกหัดการฟังในชั้นเรียนที่สำคัญมากก็คือให้ทำแบบฝึกหัดการฟัง อย่างสม่ำเสมอในช่วงที่ไม่ได้เรียนเราอาจสนับสนุนให้เด็กและผู้ปกครองฟังเทปในรถที่บ้านหรือสนับสนุนให้เด็กดูวีดีทัศน์หรือใช้โปรแกรมภาษาอังกฤษ สิ่งที่อาจทำได้นั้นสิ่งหนึ่งขึ้นอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเด็กและเวลาที่เด็กทุ่มเทให้ภาษาอังกฤษ แต่อย่างน้อยเราสามารถเน้นกับเด็กและผู้ปกครองว่าเด็กจะได้ประโยชน์อย่างสูงจากการได้ฟังภาษาอังกฤษมากๆ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าควรหลีกเลี่ยงการใช้เทปในชั้นเพียงแต่เราไม่ควรคาดหวังว่าการฟังเทปหนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์จะทำให้ความสามารถในการฟังของเด็กดีขึ้นมากนัก เทปยังมีประโยชน์มากในการทำให้ได้ยินเสียงของตัวละคร เสียงของเจ้าของภาษา ที่ช่วยสร้างความหลากหลายในวิธีที่เด็กจะได้พบเป้าหมายทางภาษาให้แบบอย่างในการออกเสียงและช่วยแนะนำฝึกร้องเพลงอีกด้วย
ควรฟังครูหรือเทปก่อน..?  
        เมื่อเด็กๆพบคำหรือรูปประโยคใหม่จากการฟังเราเราอาจ โต้ตอบได้ขณะที่พูดและเสนอคำและรูปแบบประโยคใหม่เป็นปริศนาเช่นครูอาจยิ้มให้เป็นกำลังใจแล้วถามคำถามเด็กเป็นคนๆไปเช่นWhat sport do you like ? (หนูชอบกีฬาอะไร) ตอนแรกเด็กอาจไม่เข้าใจแต่เราถาคำถามนั้นเป็นปริศนาให้เด็กไขเราอาจกระตุ้นให้เด็กๆถามครูด้วยคำถามเดียวกัน และให้เด็กเข้าใจจากคำตอบของครูถ้าครูตอบโดยใช้กีฬา ที่เด็กๆชอบคุ้นเคยด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มเพื่อแสดงว่าชอบ เด็กๆก็จะสามารถเดาความหมายของประโยคได้จากบริบท แล้วเริ่มถามและตอบกันเอง ด้วยวิธีนี้เด็กๆจะได้เรียนรู้ด้วยการสัมผัสภาษาอังกฤษเป็นกลุ่มก้อนได้ใช้ความคิดและการเดา เมื่อเด็กๆฟังเทปครั้งแรกเด็กมักจะไม่ค่อยเดาและโต้ตอบดังนั้นถ้าให้มีการฝึกก่อนฟังก็จะดีมาก เป็นต้นว่าให้ใช้ภาษาในเทปโต้ตอบกัน เล่นเกมที่ใช้ศัพท์และรูปประโยคที่อยู่ในเทปหรือให้เด็กทำปริศนาขณะที่ฟังเทป เช่นเด็กอาจมีรูปภาพชุดหนึ่งที่ประกอบเรื่องในเทปโดยให้รูปพวกปนกันอยู่ให้เด็กๆจัดให้อยู่ในลำดับที่ถูกต้องเมื่อฟังเทป กิจกรรมประเภทนี้เด็กจะมีสมาธิใช้ความคิดและไขปริศนาไปด้วย
อะไรคือหลักการเบื้องหลังของการสอนทักษะการฟัง ?...         
       เสาวภา  ฉายะบุระกุล (2546:136) ได้กล่าวถึงหลักการเบื้องหลังของการสอนทักษะการฟัง
ดังนี้คือ          
1.เครื่องบันทึกเทปมีความสำคัญเท่าๆกับตัวเทปเอง ไม่ว่าเทปจะดีเพียงใดจะหมดความหมายทันทีหากลำโพงเรื่องบันทึกเทปมีคุณภาพต่ำ
2. การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญ      

 ทั้งครูและนักเรียนจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการฟัง   ครูต้องฟังเทปตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะเอาเข้าไปเปิดในชั้นเรียน ซึ่งวิธีนี้ครูจะสามารถเตรียมตัวและตัดสินใจได้ว่า นักเรียนจะฟังเทปและทำงานประกอบการฟังได้หรือไม่           
3. ฟังครั้งเดียวไม่พอ ครูควรจะเปิดเทปให้นักเรียนฟังอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อที่จะให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาลักษณะทางภาษาบางอย่างที่อยู่ในเทป            
4.ควรกระตุ้นให้นักเรียนตอบสนองต่อเนื้อหาของสิ่งที่ฟังด้วยไม่ใช่เฉพาะแต่เพียงภาษาเท่านั้น เช่นเดียวกับการอ่าน สิ่งที่สำคัญที่สุดในการฝึกฝนทักษะการฟังคือการพยายามจับความหมาย เจตนารมณ์ของผู้พูด             5.งานประกอบการฟังจะต้องแตกต่างกันไปตามลำดับขั้นตอนการฟังที่แตกต่างกัน  เพราะเหตุผลที่ว่าเราอยากจะทำอะไรหลายๆอย่างกับเรื่องที่ให้นักเรียนฟังเราจึงจำเป็นต้องกำหนดงานให้แตกต่างกันตามลำดับขั้นตอนการฟังที่แตกต่างกันซึ่งหมายความว่าในการฟังรอบแรกงานที่ให้ทำจะต้องเป็นคำถามที่ค่อนข้างตรงไปตรงมากระตุ้นการใช้ภาษา หากทำเช่นนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถคลายความเครียดจากการฟังได้ อย่างไรก็ตามในการฟังรอบหลังๆ อาจเน้นที่รายละเอียดของข้อมูล การใช้ภาษา หรือการการเสียงได้ดียิ่งขึ้น          
6.ครูที่ดีต้องใช้ประโยชน์จากเรื่องที่ให้นักเรียนฟังให้เต็มที่
หากครูให้นักเรียนลงทุนทั้งเวลาและพลังทางอารมณ์ในการทำกิจกรรมการฟังครูก็ควรจะใช้เทปนั้นเพื่องานหลายประเภทให้มากที่สุด ดังนั้นหลังจากการเล่นเทปครั้งแรก ครูอาจเล่นเทปอีกครั้งก็ได้เพื่อการศึกษาแบบต่างๆก่อนที่จะใช้เนื้อเรื่อง สถานการณ์หรือถอดเทป สำหรับกิจกรรมใหม่ ดังนั้นการฟังจึงเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญตอนหนึ่ง ในขั้นตอนการสอน มิใช่เป็นแค่เพียงแบบฝึกหัดเท่านั้น
กิจกรรมอะไรที่ช่วยส่งเสริมการสอนทักษะการฟัง        
         ปราณี  ธนะชานันท์ (2547:73) ได้เสนอแนะกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการฟังไว้ดังนี้          
1. การเขียนตามคำบอก มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในการพัฒนาการรับรู้เสียงของภาษาและตรงกันข้าม
กับความเห็นส่วนใหญ่เรื่องการเขียนตามคำบอก การทำเช่นนี้อาจเป็นกิจกรรม
ที่สนุกสนานได้ ครูอาจออกเสียงให้เด็กเขียนในรูปภาพ ตาราง บิงโกและแผนที่มหาสมบัติเด็กเลือกช่อง
ที่จะเขียนเสียงลงไป และได้แต้มถ้าเลือกช่องบางช่องเด็กๆอาจมีใบงานที่มีเสียงและคำอยู่แล้วและทำกิจกรรม เช่น ฟังเสียงหรือคำบอกเลือกคำตอบที่ถูกบนใบงาน แล้วโยงเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นภาพหรือเดินทางไปตามเขาวงกต หรืออาจทำกิจกรรมในคลังเกม เช่น Bingo (บิงโก) Chopstick Spelling(การสะกดคำด้วยตะเกียบ) Treasure Hunt Challenge (การค้นหาขุมทรัพย์)
2. การเล่าเรื่อง ถ้าเด็กเรียนมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์การเล่าเรื่องถือเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมการฟัง โดยเฉพาะหากสามารถรวมภาษาในเรื่องให้กลมกลืนไปกับเนื้อหาที่เรียน เมื่อใช้เรื่องสำหรับฝึกการฟังครูอาจจำเรื่องมาเล่าให้เด็กฟัง อ่านให้ฟัง หรือเปิดเทปให้ฟัง หากเป็นเรื่องที่ครูจำมาก็เป็นการง่ายมากที่จะพูดโต้ตอบกับเด็ก แต่ครูก็อาจพูดจาโต้ตอบได้บ้างเหมือนกันถ้าครูอ่านเรื่อง ข้อเสียของกิจกรรมประเภทนี้คือ ไม่ว่าครูจะพยายามให้เรื่องเป็นจุดรวมของกิจกรรมมากเพียงใด แต่ก็มักจะลงเอยด้วยการที่ครูเป็นศูนย์กลางแต่ถ้าหากครูคอยระวังดึงเด็กเข้ามาร่วมด้วยให้มากที่สุดก็จะสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์ของเด็กๆกับภาษา อังกฤษอีกวิธีหนึ่งคือการใช้หุ่นหรือตุ๊กตาแทนตัวละครโดยพยายามให้หุ่นออกท่าทางตามเรื่องราวที่ครูอ่านหรือเล่า                 อย่างไรก็ตามการให้เด็กฟังเรื่องจากเทปหรือซีดี มีข้อดีที่สำคัญบางประการเด็กสามารถ
ได้ยินเสียงคนต่างๆมากมาย มีการบันทึกไว้ให้ฟังซ้ำระหว่างที่ไม่ได้เรียนและสามารถกลับไปฟังเรื่องเดิม
แบบเดิมได้ง่ายเด็กๆก็จะสามารถฟังเรื่องอีกที่บ้านได้           
      ตัวอย่างกิจกรรมที่ครูทำได้กับการเล่าเรื่อง  
               - ให้เด็กวาดภาพตัวละครหรือฉากในเรื่อง    
             - ครูเล่าเรื่องโดยใช้หุ่นเป็นตัวละครพูดโต้ ตอบกันให้เด็กเล่าเรื่องอีกครั้งด้วยหุ่นของตนเอง
                - ครูมีรูปของบางฉากในเรื่องให้เด็กวางรูปในลำดับที่ถูกต้องแตะหรือกระโดด
ไปบนรูปขณะที่ครูเล่าเรื่อง และก่อนเล่าเรื่องอาจให้เด็กวางรูปในลำดับที่คิดว่าน่าจะเป็นตามเนื้อเรื่อง
                - เด็กแต่ละคนมีบัตรคำ หากมีการเอ่ยถึง คำใดคำหนึ่งจากบัตรเหล่านั้นในเรื่อง
เจ้าของบัตรจะต้องทำอะไรบางอย่างเช่น ทำเสียงตาม คำศัพท์ หรือยกมือ ชูบัตรขึ้นเป็นต้น
                - ถ้าหากเด็กรู้เรื่องนั้นแล้วในภาษาไทย  ครูอาจถามเด็กว่ามีคำภาษาอังกฤษคำไหนที่จะปรากฏในเรื่อง หรือคาดเดาความหมาย   
              - ครูสามารถหยุดเล่าเป็นครั้งคราวและ ถามเด็กว่าคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
                3. การสอนแบบตอบสนองด้วยการกระทำเท่านั้น (Total Physical Response/TRP) เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้กันบ่อย ตัวอย่างของ TRP คือครั้งแรกครูให้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษแล้วออก
ท่าทางตามไปด้วย แล้วครูก็ให้คำสั่งเดิมโดยไม่มีท่าทางประกอบ เด็กๆแสดงความเข้าใจด้วยการทำตาม
คำสั่งโดยไม่ต้องพูด แต่ก็สามารถดัดแปลงโดยให้เด็กพูดด้วยก็ได้ เช่น ให้เด็กพูดว่ากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าครูพูดว่า  Please stand up. เด็กอาจยืนขึ้นและพูดพร้อมกันว่า We are standing up.   

 yim2.jpg
 
 
Listening Skill Teaching's Video Example
 
สรุป        การสอนทักษะการฟังเป็นทักษะแรกที่มีความสำคัญสำหรับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารครูคือควบคุมดูแลกิจกรรมทุกอย่างให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  การจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กตื่นตัวสนใจในการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติมีความสุขในการเรียนรู้ภาษาเป็นสิ่งสำคัญ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการไตร่ตรองเป็นส่วนสำคัญของความเป็นครูความสามารถของเด็กในการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถของครูในการสอนจะไม่พัฒนาเต็มตามศักยภาพ หากครูไม่มีโอกาสที่จะถอยไปข้างหลังและไตร่ตรอง บางทีการมองการสอนของเราว่าเป็นการ ทดลองอย่างหนึ่งที่ต้องคอยตรวจสอบประเมิน ทบทวน และปรับปรุงก็ช่วยในการพัฒนาการสอนของเราได้อย่างมากทีเดียว

CBI Model

      Brinton, Snow และ Wesche (1989) ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา หรือที่เรียกว่า Content – Based Instruction (CBI) ว่าเป็นการสอนที่ประสานเนื้อหาเข้ากับจุดประสงค์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหาพร้อมกับพัฒนาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการผู้สอนที่ใช้แนวการสอนแบบนี้เห็นว่าครูไม่ควรใช้เนื้อหาเป็นเพียงแบบฝึกหัดทางภาษาเท่านั้น แต่ครูควรฝึกให้ผู้เกิดความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือ ครูจะใช้เนื้อหากำหนดรูปแบบของภาษา (Form) หน้าที่ของภาษา (Function) และทักษะย่อย (Sub – Skills) ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะเข้าใจสาระของเนื้อหาและทำกิจกรรมได้ การใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษานี้จะทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด ทั้งนี้ครูจะต้องเข้าใจการสอนแบบบูรณาการหรือทักษะสัมพันธ์ ตลอดจนเข้าใจเนื้อหาและสามารถ ใช้เนื้อหาเป็นตัวกำหนดบทเรียนทางภาษา (Brinton, Snow, Wesche, 1989)
แนวการสอนแบบนี้ ครูจะประสานทักษะทั้งสี่ให้สัมพันธ์กับหัวเรื่อง (Topic) ที่กำหนดในการเลือกหัวเรื่องครูจะต้องแน่ใจว่าผู้เรียนมีทักษะและกลวิธีการเรียน (Learning Strategies) ที่จำเป็นเพื่อที่จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ การสอนภาษาแนวนี้เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะเป็นการฝึกกลวิธีการเรียนภาษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจความหมายของภาษาและสามารถนำกลวิธีนี้ไปใช้ได้ตลอด ส่วนเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ครูสามารถปรับแต่งให้มีความหลากหลายมากขึ้น
          กิจกรรมการเรียนการสอนในแนวนี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด และเกิดการเรียนรู้ โดยผ่านการฝึกทักษะทางภาษา กิจกรรมเป็นแบบทักษะสัมพันธ์ที่สมจริง ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เรียนได้ฟังหรืออ่านบทความที่ได้จากสื่อจริง (Authentic Material) แล้วผู้เรียนไม่เพียงแต่ทำความเข้าใจข้อมูลเท่านั้น แต่จะต้องตีความและประเมินข้อมูลนั้น ๆ ด้วย ดังนั้นผู้เรียนจะต้องรู้จักการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะสามารถพูดหรือเขียนเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้ จะเห็นได้ว่าผู้เรียนจะได้ฝึกทั้งทักษะทางภาษา (Language Skills) และทักษะการเรียน (Study Skills) ซึ่งจะเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในสถานการณ์จริงในอนาคต
        การสอนแบบ CBI มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อหาความรู้ทางวิชาการเพิ่มเติม ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างไปจากการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยมีแนวการเรียนการสอนที่สำคัญดังนี้ คือ
             - การสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner – Centered Approach)
             - การสอนที่คำนึงถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาษา (Whole Language Approach)
             - การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
             - การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project – Based Learning)
         นอกจากนี้ยังเน้นหลักสำคัญว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาได้ดี ถ้ามีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์ที่เหมือนจริง และผู้เรียนจะใช้ภาษามากขึ้นถ้ามีความสนใจในเนื้อหาที่เรียน ดังนั้นผู้เรียนจึงต้องนำเนื้อหาที่เป็นจริงและสถานการณ์การเรียนรู้ที่สมจริงมาให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษา เพื่อที่จะทำความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยผู้เรียนสามารถใช้พื้นความรู้เดิมของตนในภาษาไทยมาโยงกับเนื้อหาของวิชาในภาษาอังกฤษ และที่สำคัญที่สุด คือ แนวการสอนแนวนี้ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น สามารถวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลที่ได้จากเนื้อหาที่เรียน และใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ ฉะนั้นการเรียนการสอนวิธีนี้จึงเหมาะสมกับการสอนภาษาในระดับประถมศึกษา


CBI Lesson Plan Example:

Unit: Health  Topic: Sports & Exercises M.5
Unit: Community Topic: Famous People M.4
Unit 5: Culture   Topic: Beliefs  M.2
Unit: Myself Topic: Personal Information M.4
Unit 5: Food and Drink Topic: Healthy Food M.6
Unit : Health Topic : Medical Service M.5
Unit4: Environment  Topic: Pollutions  M.6             

CBI Model Teaching's Video Example:


วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

PPP Model

The PPP models vary from short-term simple management contracts (with or without
investment requirements) to long-term and very complex BOT form, to divestiture.
These models vary mainly by:
                                           −
Ownership of capital assets
                                           −
Responsibility for investment
                                           −
Assumption of risks, and
                                           −
The PPP models can be classified into four broad categories in order of generally (but
not always) increased involvement and assumption of risks by the private sector. The
four broad categorisations of participation are:
Duration of contract.
                                          −
Supply and management contracts
                                          −
Turnkey projects
                                          −
Lease
                                          −
Concessions                                          −

PPP Lesson Plan Examples:

Unit: Family Topic: Activities P.6
Private ownership of assets.
Unit:  Shopping Topic: price P.5 


PPP Model Teaching's Video Example: