วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

B-Slim Model

This theory is based on the concept that some second language learners not as capable of self directed learning as others.  Some learners have to be taught to be self directed.  B-Slim is based on students’ ”feelings of success” and uses enough structure and support (scaffolding) at each phase of a lesson or series of lessons for learners who are less self sufficient to succeed while simultaneously providing opportunities and direction for the more self-directed student to push forward

การสอนโดยใช้ B-SLIM Model
.
             การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ B-SLIM Model หมายถึง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนภาษาที่สองตามแนวการสอนภาษาเพื่อ การสื่อสาร (Communication Language Teaching – CLT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้น ดังนี้

1.1 ขั้นวางแผนและเตรียม (Planning and Preparation) หมาย ถึง ขั้นที่ครูเลือกกิจกรรมและเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและ ความสนใจของผู้เรียน รวมทั้งการจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

1.2 ขั้นทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้สอนป้อน (Comprehensible Input) หมายถึง ขั้นที่ครูอธิบายความรู้ ข้อมูลหรือตัวป้อนใหม่ เรียกว่า Input โดย ตั้งอยู่บนฐานความรู้เดิมของผู้เรียนครูสามารถทำให้ตัวป้อนเหล่านี้ง่าย ในการที่ผู้เรียนจะเข้าใจเกิดการเรียนรู้ โดยการขยายความอธิบายเพิ่มเติม พูดช้า ๆ ซ้ำ ๆ ชัดเจน ใช้รูปภาพ สาธิต และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย
ตัวป้อนมี 9 ชนิด ดังนี้

                1.2.1 การรับรู้ภาษา (Language Awareness)
                1.2.2 การออกเสียง (Pronunciation)
                1.2.3 ศัพท์ (Vocabulary)
                1.2.4 ไวยากรณ์ (Grammar)
                1.2.5 สถานการณ์และความคล่องแคล่ว (Situation and Fluency)
                1.2.6 วัฒนธรรม (Culture)
                1.2.7 กลวิธีการเรียนรู้ (Learning Strategy)
                1.2.8 ทัศนคติ (Attitude)
                1.2.9 ทักษะ (Skill)

1.3 ขั้นกิจกรรมเพื่อความเข้าใจและฝึก (Intake Activity) หมายถึง ช่วงเวลาที่ผู้เรียนเรียนรู้ เนื้อหาหรือตัวป้อน (Input) ผู้ สอนพึงระลึกเสมอว่า ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสารหรือตัวป้อนในขั้นแรก ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสทำสองประการ คือ
                1.3.1 ประการแรก ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตัวป้อนเรียกว่ากิจกรรมเพื่อความเข้าใจ (Intake-Getting-It)
                1.3.2 ประการที่สอง หลังจากที่ผู้เรียนเข้าใจ Input แล้ว ผู้สอนออกแบบกิจกรรมที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกเรียกว่า กิจกรรมขั้นใช้ภาษา(Intake-Using-IT)

1.4 ขั้นผล (Output) หมาย ถึง ขั้นส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษานอกห้องเรียนทั้งทักษะฟัง พูด อ่านและเขียน ลักษณะกิจกรรมในขั้นนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ประกอบกับความ สามารถทางภาษา โดยส่วนมากจะเป็นกิจกรรมเดี่ยว (Individual Activity)

1.5 ขั้นประเมินผล (Evaluation) หมาย ถึง ขั้นที่ครูรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากการสังเกตหรือการซักถามผู้เรียนในชั้นต่าง ๆ เพื่อต้องการทราบปัญหาต่าง ๆ และแก้ปัญหาในการสอนครั้งต่อไป เป็นการประเมินการสอนของครูเอง ส่วนการประเมินการเรียนของผู้เรียนครูใช้การประเมินพฤติกรรมการเรียน ใบงาน การทดสอบย่อย และการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

B-Slim Lesson Plan Examples:

Unit: Tourism Topic: Travel Arrangement M. 5
Unit 4: Health  Topic: Sport and Exercise  M. 5
Unit 1: Places  Topic:  Directions M.1
Unit : Shopping  Topic : Clothes P.5 



B-Slim Model Teaching's Video Example:



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น